Generation ที่ 4 (รุ่นปี พ.ศ. 2535 - 2540) ของ ฮอนด้า พรีลูด

ฮอนด้า พรีลูด รุ่นที่ 4

โฉมที่ 4 เริ่มมีการใช้เครื่องยนต์แบบ VTEC ในพรีลูด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแรง และความคุ้มค่าในการใช้เชื้อเพลิง

แต่ในขณะเดียวกัน เครื่องระบบคาร์บูเรเตอร์ก็ยังผลิตอยู่ เครื่องยนต์แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ

เครื่องวางขวางขับเคลื่อนล้อหน้าแบ่งเป็นสี่ตัว คือ เครื่องหัวฉีดธรรมดา 2.0 ลิตร 133 แรงม้า , เครื่องคาร์บูเรเตอร์ 2.2 ลิตร 135 แรงม้า , เครื่องยนต์หัวฉีดธรรมดา 2.3 ลิตร 160 แรงม้า และเครื่องยนต์หัวฉีด VTEC 2.2(H22A) ลิตร 200 แรงม้า หรือที่เรียกว่า VTi-R หรือ Si-VTEC

โฉมนี้ ยกเลิกการใช้ไฟหน้าแบบ Pop-Up และได้ออกแบบใหม่ให้ดูล้ำยุคมากขึ้น ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นผู้นำในขณะนั้นที่กล้าลบกระแสไฟป็อบอัพในรถสปอร์ต อีกทั้งยังนำเอาระบบขับเคลื่อนล้อหน้ามาใช้กับรถสปอร์ตอีกด้วย และได้เพิ่มอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปอีกให้ทันยุคสมัยมากขึ้น ด้วยการมีซันรูฟ, ครูซคอนโทรล (ล็อกความเร็วอัตโนมัติ), ระบบเบรกเอบีเอส, ระบบเลี้ยวสี่ล้อในรุ่นวีเทค(VTEC), หน้าปัดออกแบบเป็นระบบดิจิตอล ฯลฯ รถรุ่นนี้ประสบความสำเร็จในด้านการตลาดอย่างมากในระดับรถสปอร์ตขนาดกลาง เนื่องจากมีเทคโนโลยีต่างๆ ในตัวรถอยู่พอสมควรทีเดียว แต่อาจจะมีข้อด้อยกว่ารถยนต์คู่แข่งในด้านการขับขี่ เนื่องจากเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า และในประเทศไทย บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เคยสั่งนำเข้าฮอนด้า พรีลูดมาจากญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2535 ในยุคที่กระแสของรถนำเข้าโด่งดังจากการลดภาษีนำเข้ารถยนต์ของ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน คู่แข่งในระดับเดียวกันในสมัยนั้นเช่น โตโยต้า เซลิก้า ,โตโยต้า พาซิโอ ,นิสสัน NX ,โอเปิล คาลิบรา ก็เป็นรถนำเข้่าเช่นเดียวกัน ยกเว้น Nissan NX Coupe